ไม่ว่าทางจะยาวไกลแค่ไหน ต้องเริ่มจาก "ก้าวแรก" เสมอ

วันพฤหัสบดี, ธันวาคม 11, 2551

1.6 ปี* การสอนเด็กเล็กทำอะไรบ้าง

ขออนุญาติค่ะ บทความนี้ คัดลอกมาจาก http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=icyrose&date=01-10-2008&group=5&gblog=18 เนื่องจากเห็นว่ามีความรู้ จึงนำมาเก็บในบล็อกของลูกเพื่อเป็นการศึกษาโดยส่วนตัว มิได้มีเจตนานำไปเผยแพร่ที่อื่นใดขอบคุณค่ะ 1.6 ปี* การสอนเด็กเล็กทำอะไรบ้าง สอนเด็กเล็ก หลังจากเจอพ่อธีร์ที่สวนลุมก็ได้รวบรวมข้อมูลมาเยอะแยะ เราก็ได้บทสรุปคร่าวๆออกมาว่าเด็กเล็กควรเริ่มฝึกอะไรบ้าง พ่อๆแม่ๆอย่าลืมนะคะ "ห้ามคาดหวัง" เรากำลังทำสิ่งดีๆให้ลูกของเรา ไม่ว่าลูกจะได้มากหรือน้อยก็ดีกว่าเราไม่ได้ทำ เราจะไม่เปรียบเทียบลูกเรากับเด็กคนอื่น เพราะเด็กแต่ละคนมีความแตกต่าง เราไม่ได้ฝึกลูกอย่างเดียวแต่ฝึกตัวเราเองด้วย ช่วงเวลาแห่งการเริ่มต้นกว่าจะผ่านช่วงแรกก็ประมาณ 4-5 เดือน ตามที่พ่อแม่ที่มีประสบการณ์บอกมาว่าช่วงนี้จะทรมานสุดๆ เพราะลูกก็ไม่รู้ว่าพ่อแม่ทำอะไร วินัยยังไม่มา ถ้าเราผ่านช่วงนี้ไปได้อะไรๆก็จะง่ายขึ้นเยอะ ช่วงแรกนี่แหละเป็นช่วงแห่งความสับสนเราต้องให้กำลังใจกันไปเรื่อยๆหละนะคะ เราจะใช้เวลาคุณภาพในการสอนต่อวันประมาณ 15 นาที การสอนลูก"ห้าม"นั่งเผชิญหน้ากับลูก ให้อุ้มลูกนั่งตัก หลังจากเสร็จแต่ละกิจกรรมอย่าลืมให้รางวัลลูกน้อยด้วยการกอด หอม และคำชม หลายคนถามว่าจะต้องทำบ่อยแค่ไหนเรื่องการสอน เราทำบ่อยแค่ไหนเราก็ได้กอดลูกมากเท่านั้นหละค่ะ อิ อิ แต่อย่าลืมว่าเราจะไม่กดดันลูก อย่าลืมเปิดเพลงบรรเลงในขณะสอน 1. นับเลขปากเปล่า โดยใช้ลูกปัด 2. วางเบี้ยบนกระดาน (แม่วางลูกดู) 3. ลากนิ้วตามตัวเลขโตๆ 4. บัตรคำ 5. สมาธิ นับเลขปากเปล่า เพื่อความปลอดภัยเราจะใช้ลูกปัดลูกโตๆนะคะ ถ้าไม่มีก็เป็นบล็อกไม้หรืออะไรก็ได้ที่เหมือนกัน 5 อัน วาง 1ลูกนับ "หนึ่ง" วางเพิ่มอีกหนึ่งลูกนับ"สอง" ไปจนถึง"ห้า" ถือว่าจบบทเรียน กอด หอม ชมลูก(ห้ามลืม) อันนี้สำหรับเริ่มต้น เป้าหมายของเราคือเมื่อเราวางลูกปัด 5 ลูกแล้วลูกตอบ "ห้า"ทันที โดยไม่ต้องนับ "หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า" อันนี้เป็นการฝึกให้ลูกมองเห็นภาพ แบบเดียวกับที่คุมองให้การ์ดจุดๆให้เด็กดู และแบบเดียวกับวิธีสอนเลขของ Glenn Doman จุดประสงค์เดียวกันคือ Number Sense ลูกปัดแนะนำของศึกษาภัณฑ์ เป็นแบบมีรู เดี๋ยวเราเก็บไว้ใช้ยาวจนลูกโต วางเบี้ยบนกระดาน แม่วางเบี้ยเลข 1 บนกระดาน นับ "หนึ่ง" แม่วางเบี้ยเลข 2 นับ "สอง" ไล่ไปจนถึง "20" ถือว่าจบบทเรียน ทำไงต่อคะ?? ถูกต้องค่ะ กอด หอม ชมลูก ภาคบังคับห้ามลืม วางเบี้ยเราฝึกเรื่อง Pattern Sense เมื่อลูกโตจะให้ลูกวางเอง พอวางได้ 1-100 ก็จะมีการประยุกต์การใช้กระดาน เช่นวางแต่เลขคู่ วางแต่เลขคี่ วางตามสูตรคูณ(ลูกไม่รู้หรอกค่ะว่าสูตรคูณ) เค้าจะทำได้ของเค้าเองว่าถ้าแม่ให้นับทีละ 3 เบี้ยมันจะไปอยู่ในช่อง 3 6 9 12 กระดานเบี้ยสารพัดประโยชน์ จากที่เราเห็นพ่อธีร์ใช้กระดานแก้โจทย์เลขให้เราดูว่าเด็กตัวเล็กๆเค้าคิดยังไง ฝากโจทย์ไว้อีกทีเผื่อใครสนใจ อันนี้เป็นโจทย์คลาสสิกมากๆ "มีนกกับเต่ารวมกัน 7 หัว มีขารวมกัน 20 ขา ถามว่ามีนกกี่ตัว มีเต่ากี่ตัว" ถ้าเราสอนลูกเราใช้กระดานเบี้ยไปเรื่อยๆตามขั้นตอน ลูกเราน่าจะแก้โจทย์นี้ได้ตอนอนุบาล 3 ค่ะ ว้าวววววใช่มั๊ยล่ะคะ อีกหนึ่งข้อดีของกระดานเบี้ยคือสร้างความเคยชินให้ลูกไม่กลัวกระดาน เดี๋ยวลูกโตหน่อยเราจะส่งเสริมให้เค้าเล่นหมากกระดานค่ะ จะหมากรุก หมากฮอส โกะ ซูโดกุ อะไรก็ได้ดีทั้งนั้นสำหรับเด็ก (ว่าแล้วก็นึกถึง Susan แชมป์หมากรุกโลก เดี๋ยวไปเขียนเล่าต่อภาคต่อไป) ลากนิ้วตามตัวเลข อุปกรณ์ของเราเป็นกระดาษ A4 พิมพ์ตัวเลข 1-0 กระดาษ 1 แผ่นพิมพ์หนึ่งตัวเลขนะคะจะได้เลขโตๆเหมาะกับวัยคุณลูกของพวกเรา ถ้าจะเอาแบบพัฒนาขึ้นอีกหนึ่งขั้นก็ใช้กระดาษทราบเบอร์ละเอียด หรือกำมะหยี่ ตัดเป็นตัวเลขแปะ กระดาษ A4เราต้องแปะบนแผ่นแข็งๆด้วยนะคะ ลูกจะได้ลากนิ้วตามได้ง่าย อันนี้แบบเดียวกับแนวทางของมอนเตสซอรี่ Montessori เลย เดี๋ยวหาทางเริ่มพัฒนาแล้วใครจะเอาก็บอกมานะคะ ยังไม่ได้ทำ บัตรคำ เริ่มทำบัตรคำจากหนังสือนิทานที่คุณชอบเล่าให้ลูกฟังแล้วลูกก็ชอบ หนังสือสำหรับเด็กหนึ่งเล่มคำศัพท์ไม่ควรเกิน 40 คำ หนังสือสำหรับเด็กเล็กต้องมีตัวหนังสือน้อย อักษรโตๆ ภาพสวยๆ บัตรคำใช้อักษรใหญ่หน่อยลูกจะได้อ่านง่าย เขียนเอาง่ายสุด หรือจะปริ๊นท์จากคอมก็ดูเรียบร้อย เลือกฟ้อนต์หนาๆหน่อยนะคะ ใครยังหานิทานถูกใจไม่ได้ลองเรื่อง "ขอหนูหลับหน่อย" ภาพสวยมากๆ อักษรโต เนื้อเรื่องน่ารัก เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการนอนของสัตว์ต่างๆ สุดท้ายถามว่าแล้วเด็กๆนอนแบบไหน น่ารักดีค่ะ สมาธิ มีการวิจัยออกมาว่าการจับเด็กเล็กนั่งสมาธิมีผลเสียมากกว่าผลดี เพราะวัยของเด็กควรเป็นวัยวิ่งเล่นจับนั่งเฉยๆให้หลับตาเค้าจะเครียดได้ การฝึกสมาธิจึงควรฝึกผ่านกิจกรรมหรือการเล่นต่างๆ ก่อนหน้านี้เก่งจะสอนบันร้อยลูกปัด ลูกปัดลูกโตๆมีตัวนำเป็นไม้จะง่ายสำหรับเด็กเล็ก แรกๆบันก็จะทำไม่ได้ก็คอยช่วย ตอนขวบสองเดือนร้อยเองได้ 9 ชิ้นแล้วค่ะ พ่อธีร์เพิ่มเติมวิธีฝึกสมาธิให้บันด้วยการใช้ภาพพ่อและแม่ อันนี้เด็กจะได้จินตนาการด้วย เลือกภาพพ่อหนึ่งใบที่ยิ้มแย้ม ภาพแม่อีกหนึ่งใบยิ้มแย้มเหมือนกัน โชว์รูปพ่อให้ลูกดูบอกลูกด้วยน้ำเสียงโทนเรียบ นุ่มนวลว่า "รูปป่าป๊า อยู่ในใจหนู" จากนั้นเปลี่ยนเป็นรูปแม่พูดว่า "รูปหม่ามี๊ อยู่ในใจหนู" ฝึกแค่นี้แหละค่ะทุกวัน ลูกจะจินตนาการภาพพ่อและแม่ว่าอยู่ในใจเค้าได้ ภาพพ่อแม่ในใจเค้าจะเป็นภาพพ่อแม่ยิ้มแย้มใจดีอ่อนหวาน เรื่องอุปกรณ์หลายคนอาจสงสัย ไว้จะเอารูปมาให้ดูกัน อย่างกระดานเบี้ยเก่งสั่งทำกระดานแม่เหล็กที่ร้านปากซอยบ้านเป็นกระดานแม่เหล็ก เพราะจากประสบการ์แม่ๆกลุ่มก่อนบอกว่ากระดานธรรมดาแล้วลูกปัดเบี้ยกระจาย เก่งเลยคิดทำกระดานเป็นแม่เหล็กซะเลย จะได้ใช้ได้ยาว ตอนนี้ก็เอากระดานมาให้บันเล่นแม้จะยังไม่รู้ตัวเลข ก็เอากระดานมาให้แปะโน่นนี่บนกระดาน เริ่มสร้างความเคยชินน่ะค่ะ การสอนไม่มีใครรู้จักลูกดีเท่าตัวคุณ ฉะนั้นจะทำเวลาเช้า สาย บ่าย เย็น แต่ละครอบครัวไม่เหมือนกัน หรือจะทำแล้วหยุดพักเดี๋ยวทำต่อก็ไม่ว่ากัน เพราะแรกๆเค้าคงไม่นั่งอยู่บนตักเรานานหรอกค่ะ ฮ่า ฮ่า อันนี้ต้องประยุกต์กันไปตามวาระ ว่าแล้วก็เริ่มทำกันตั้งแต่วันนี้เลยนะคะ